ลียง หรือ โอลิมปิกลียง เป็น สโมสรฟุตบอลอาชีพ ของ เมืองลียง เล่นอยู่ในลีกสูงสุดของฝรั่งเศสในลีกเอิง ซึ่งสโมสรได้ถูก ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1899 ในนามของ ลียงออแล็งปิกอูนีแวร์แตร์ แต่ก่อตั้งในระดับประเทศในฐานะสโมสรในปี ค.ศ. 1950 สโมสรประสบความสำเร็จอย่างมากในศตวรรษที่ 21 สามารถชนะในการแข่งขันลีกเอิงที่จัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศง2002 โดย ได้สร้างสถิติเป็นผู้ชนะเลิศ 7 ครั้ง และยังชนะในถ้วยทรอเฟเดช็องปียง 7 ครั้ง ชนะในถ้วยกุปเดอฟร็องส์ 5 ครั้ง และ ชนะในลีกเดอ 3 ครั้งและยังได้เข้าร่วมการแข่งขันใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในฤดูกาล 2009-2010 สามารถเข้าได้ถึงรอบรองชนะเลิศได้เป็นครั้งแรก ต่อมาก็ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศอีกครั้งในฤดูกาล 2019–20 สนามกีฬาเหย้าของสโมสรคือสนามสตาดเดอแฌร์ล็อง (Stade de Gerland) และในปี ค.ศ. 2013 สนามแห่งใหม่พร้อมที่จะเปิด KUBET1668 คาดว่าจะใช้ชื่อว่า โอแอลแลนด์ (OL Land)
ประวัติ ความเป็นมา
ลียง ได้ถูกสร้างขึ้นภายในการควบคุมดูแลของ มัลติสปอร์ต ในชื่อ สโมสรฟุตบอลลียอออแล็งปิกยูนิเวอร์ซิทายริ ในปี ค.ศ. 1986 ภายหลังจากการก่อตั้งสโมสรได้เกิดความขัดแย้งภายในหลายเรื่องของการอยู่ร่วมกันของนักฟุตบอลสมัครเล่น และนักฟุตบอลมืออาชีพในสโมสรแล้วผู้จัดการของสโมสร เฟลลิก โลรูด์ และสตาฟโค้ชของสโมสรได้คิดสร้างสโมสรของตัวเอง เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1950 ในแผนการของ โลรูด์ สร้างมาเพื่อการบรรลุผลเมื่อโอลิมปิกลียอแน ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการหลังจาก ดร. อัลเบิร์ท และ บุคคลจากเมืองลียง ได้ช่วยกันสนับสนุนเป็นอีกแรง ซึ่งผู้จัดการทีมคนแรกของสโมสรคือ ออสการ์ เฮอิสเซเลอร์ และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1950 สโมสรได้ลงเล่นนัดแรกอย่างเป็นทางการด้วยการเอาชนะแคลิฟอร์เนียปารีส ไป 3-0 และ ใน ช่วงคริสต์ทศวรรษ 2000 เป็นช่วงรุ่งเรืองของลียงอย่างแท้จริง โดย ชนะเลิศในลีกเอิงถึง 7 สมัยซ้อน ระหว่าง ค.ศ. 2002–2008 ชนะเลิศ ทรอเฟเดช็องปียง ถึง 6 สมัยซ้อนระหว่าง ค.ศ. 2002 –2007 กุปเดอลาลีกใน ค.ศ. 2001 อีก 1 สมัย และ กุปเดอฟร็องส์ใน ค.ศ. 2008 อีก 1 สมัย และสามารถผ่านเข้าสู่รอบลึกของรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ถึงแม้ว่า ลียง จะเป็นทีมฟุตบอลที่ไม่ใช่ทีมใหญ่โตอะไร โดยมีชื่อเสียงเป็นรองทีมอย่าง โอลิมปิก มาร์กเซย, ปารีส แซงต์ แชร์กาแม็ง และ โมนาโก อยู่หลายขุมในช่วงก่อนเข้าสู่ยุค 90’s อย่างไรก็ตามอนาคตคือสิ่งที่สามารถสร้างเองได้และสิ่งที่ทุกสโมสรบนโลกนี้ต้องการหากอยากจะเป็นทีมที่ยิ่งใหญ่คือ “ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์”
เรื่องราวของลียงนั้นเกิดจากนักธุรกิจชาวฝรั่งเศสที่มี ทรัพย์สินประมาณ 600 ล้านยูโร ได้เข้ามาซื้อทีมในปี 1987 ด้วยแนวคิดที่ผสมผสานกันระหว่าง นักธุรกิจบวกกับคนที่รักในกีฬาฟุตบอล นั่นคือทีมจะต้องทำเงิน มีฐานการเงินที่แข็งแกร่ง และสำคัญที่สุดคือต้องประสบความสำเร็จด้วย ซึ่งนี่คือโจทย์ที่หินที่สุด แต่ โอลาส ก็ฉลาดพอที่จะค่อย ๆ แก้ไขปัญหาไปทีละเรื่อง
นอกจากที่เขาจะได้เริ่มทยอยเคลียร์บัญชีของทีมจากหนี้เก่า ๆ จนหมดแล้ว โอลาส ยัง ได้นำทีมเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์และได้สร้างแบรนด์ให้ ลียง เป็นทีมที่ขายได้ ไม่ใช่แค่ในเรื่องฟุตบอลภายใต้แบรนด์ OL ในส่วนของทีมฟุตบอลที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดนั้น โอลาส ก็ได้เปลี่ยนแปลงการบริหารใหม่ด้วย ทุกการลงทุนของเขานั้นจะต้องทำให้สโมสรเดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่งจะต้องเป็นเงินต่อเงิน ไม่ใช่เงินสร้าง ด้วยแนวคิดที่เป็นการสร้างทีมแบบซื้อมาขายไป นักเตะทุกคนสามารถประเมินค่าเป็นเงินได้ทั้งหมด หากมากพอทางสโมสรจะไม่รั้งใครไว้ พวกเขาจะรับเงินมา ปล่อยนักเตะไป จากนั้นก็ลงทุนอย่างชาญฉลาดต่อไปเรื่อย ๆ และเมื่อถึงจุดหนึ่งทุกอย่างก็แข็งแกร่งแม้จะต้องรอถึง 15 ปี ก็ตาม โอลาส ได้พาทีมขึ้นสู่ลีกสูงสุดในปี 1989 และในช่วงยุค 90 ลียงได้เริ่มมีชื่อเสียงในลีกเอิงโดยได้ไต่ไปถึงการได้เป็นถึงรองแชมป์ลีกในปี 1994-1995 แต่ความพยายามของพวกเขาก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ อย่างดีก็เป็นได้แค่รองแชมป์ แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ในเวลานั้นก็คือ ทาง ลียง ได้เริ่มรวบรวมนักเตะฝีเท้าดีเอาไว้โดยที่เน้นไปที่นักเตะบราซิล ที่มีความสามารถสูงและขายต่อได้
ในช่วงหลังปี 2000 นักเตะบราซิลได้เริ่มทยอยเข้าสู่ทีมเป็นชุดแรก ซึ่งถือได้ว่าเป็นชุดที่เริ่มต้นเข้าสู่ยุคสมัยอันยิ่งใหญ่ของ ลียง เลยก็ว่าได้ เพราะ 3 นักเตะอย่าง จูนินโญ่ แปร์นัมบูกาโน่, ซอนนี่ อันแดร์สัน และ เอ็ดมิลสัน คือ 3 แซมบ้าที่สามารถใช้คำว่า “เก่งเกินลีกเอิง” ณ เวลานั้นได้จริง
เมื่อระบบได้เปลี่ยนด้วยการดึงนักเตะเก่ง ๆ มารวมตัวกัน ลียง ก็คว้าแชมป์ลีกเอิงสมัยแรกในฤดูกาล 2001-02 จากนั้น นโยบายดังกล่าวของพวกเขาก็ติดปีก เพราะไม่ใช่แค่นักเตะบราซิลอีกแล้วที่ถูกนำเข้ามา ลียง ยังได้ส่งแมวมองไปทั่วโลกโดยเฉพาะในแอฟริกา นอกจากนี้ยังไปสอดส่องนักเตะจากลีกเล็ก ๆ ในยุโรปอย่าง โครเอเชีย, เบลเยียม, สวีเดน, นอร์เวย์ รวมไปถึงการหานักเตะมีแววในลีกเอิงเอง เรียกได้ว่า ลียง หมดงบไปกับการสเกาต์นักเตะจำนวนไม่น้อยเลยก็ว่าได้
หลังจากปี 2002 ลียงก็ได้เริ่มต้นสู่ความยิ่งใหญ่โดยได้คว้าแชมป์ลีกเรื่อยมาจนถึงปี 2008 ถือได้ว่าเป็นยุคที่เรียกได้ว่า “ลียง ลงเป็นยิง” ของแท้ของจริงเลยก็ว่าได้ พวกเขาเป็นที่ที่เล่นในถ้วยยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีกได้อย่างที่ไม่เคยกลัวใคร ตลอดยุคทองที่กินเวลาราว 10 ปี ลียง สามารถผ่านรอบแบ่งกลุ่มเข้าไปเล่นรอบน็อคเอาต์ได้แทบทุกฤดูกาล บางปีเข้าไปถึงรอบตัดเชือกเลยด้วยซ้ำ
สนามเหย้าของทีม
ปาร์กอแล็งปิกลียอแน ซึ่งมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า กร็องสตาด และ สตาดเดลูเมียร์ เป็นสนามฟุตบอลของ ออแล็งปิกลีอยแน เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 พื้นสนามเป็นแอร์ไฟเบอร์ไฮบริดกราส สนามมีขนาด 105 × 68 เมตร (344 × 223 ฟุต) โดยสนามมีความจุ 59,186 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเดซี-ชาร์ปีเยอ ใกล้กับลียง โดยใช้แทนที่ สตาดเดอแฌร์ล็องซึ่งเป็นสนามเก่า KUBET369 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 โดยสนามแห่งนี้มีแผลที่จะใช้งานในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 และฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2019
ผลงานสร้างชื่อ
➰ ระดับประเทศ
➰ ลีกเอิง : ชนะเลิศ : 2001–02, 2002–03, 2003–04, 2004–05, 2005–06, 2006–07, 2007–08
➰ ลีกเดอ : ชนะเลิศ : 1950–51, 1953–54, 1988–89
➰ กุปเดอฟร็องส์ : ชนะเลิศ : 1963–64, 1966–67, 1972–73, 2007–08, 2011–12
➰ กุปเดอลาลีก : ชนะเลิศ : 2000–01
➰ ทรอเฟเดช็องปียง : ชนะเลิศ : 1973, 2002, 2003, 2004, 2005, 2006, 2007, 2012
➰ ระดับทวีปยุโรป
➰ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก : รอบรองชนะเลิศ : 2009–10, 2019–20
➰ ยูฟ่ายูโรปาลีก : รอบรองชนะเลิศ : 2016–17
➰ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ : รอบรองชนะเลิศ : 1963–64
➰ ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ : ชนะเลิศ : 1997
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน ฤดูกาล 2020 – 2021
เบอร์เสื้อ | นักเตะ | ตำแหน่ง | สัญชาติ | อายุ |
ผู้รักษาประตู | ||||
30 | ยูเลี่ยน โพลเลอร์สเบ็ค | ผู้รักษาประตู | เยอรมนี | 26 |
1 | แอนโธนี่ โลเปส | ผู้รักษาประตู | โปรตุเกส | 30 |
40 | มัลคอล์ม บาร์โกล่า | ผู้รักษาประตู | โตโก | 21 |
กองกลาง | ||||
27 | แม็กซ์เวล กอร์กเน่ต์ | เซ็นเตอร์แบ็ค | โกตดิวัวร์ | 24 |
26 | เมลวิน บาร์ด | เซ็นเตอร์แบ็ค | ฝรั่งเศส | 20 |
3 | ฌาเมล เอ็ดดีน เบนลามรี่ | เซ็นเตอร์แบ็ค | แอลจีเรีย | 31 |
5 | เจสัน เดนาเยอร์ | เซ็นเตอร์แบ็ค | เบลเยียม | 25 |
2 | ซินาลี่ ดิโอมานเด้ | เซ็นเตอร์แบ็ค | โกตดิวัวร์ | 19 |
19 | เกงค์ ออซคาการ์ | เซ็นเตอร์แบ็ค | ตุรกี | 20 |
6 | มาร์เชโล่ | เซ็นเตอร์แบ็ค | บราซิล | 33 |
22 | มัตเตีย เด ชิโญ่ | แบ็คขวา | อิตาลี | 28 |
14 | เลโอ ดูบัวส์ | แบ็คขวา | ฝรั่งเศส | 26 |
กองกลาง | ||||
23 | ติอาโก้ เมนเดส | มิดฟิลด์ตัวรับ | บราซิล | 28 |
8 | ฮุสเซม อาอูอาร์ | มิดฟิลด์ตัวกลาง | ฝรั่งเศส | 22 |
25 | มักซ็องซ์ แกเกเรต์ | มิดฟิลด์ตัวกลาง | ฝรั่งเศส | 20 |
39 | บรูโน่ กิลมาเรส | มิดฟิลด์ตัวกลาง | บราซิล | 23 |
15 | คามิโล่ | มิดฟิลด์ตัวกลาง | บราซิล | 21 |
10 | เมมฟิส เดอปาย | ปีกซ้าย | เนเธอร์แลนด์ | 27 |
18 | ไรอัน แชร์กี้ | มิดฟิลด์ตัวรุก | ฝรั่งเศส | 17 |
12 | ลูคัส ปาเกต้า | มิดฟิลด์ตัวรุก | บราซิล | 23 |
33 | ยาย่า ซูมาเร่ | ปีกขวา | ฝรั่งเศส | 20 |
กองหน้า | ||||
20 | อิสลาม สลิมานี่ | กองหน้าตัวเป้า | แอลจีเรีย | 32 |
7 | คาร์ล โตโก เอคัมบี้ | กองหน้าตัวเป้า | แคเมอรูน | 28 |
11 | ติโน่ คาเดแวร์ | กองหน้าตัวเป้า | ซิมบับเว | 25 |
0 Shared
0 Pined
0 Shared
0 Shared